0
10 หายนะทางธุรกิจในประวัติศาสตร์โลก 
10 สุดยอดหายนะทางธุรกิจในประวัติศาสตร์โลก 


  
หายนะทางธุรกิจคือฝันร้ายที่ไม่มีใครอยากจะจดจำ แต่ถ้าเรารู้จักเรียนรู้ในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นฝันร้ายก็มักจะกลับกลายเป็นดีเสมอ ให้ทุกก้าวย่างที่ผิดพลาดเป็นเครื่องเตือนใจ เพื่อที่ว่าครั้งต่อไปจะได้ไม่ก้าวผิดอีก 
ในประวัติศาสตร์การทำธุรกิจของโลกนั้นมีหลายครั้งหลายคราวที่ความล้มเหลวของระบบการเงินได้อุบัติขึ้น และได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของมวลมนุษยชาติเป็นวงกว้างจนหลายคนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว ซึ่งความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นแทบทั้งหมดล้วนมีที่มาจากน้ำมือมนุษย์แทบทั้งสิ้น จึงอยากจะขอย้อนรำลึกถึงความล้มเหลวของระบบธุรกิจโลกที่ผ่านมา เพื่อเรียนรู้ถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นมาเป็นบทเรียนในการพัฒนาธุรกิจในวันนี้ โดย 10 สุดยอดหายนะทางธุรกิจในประวัติศาสตร์โลกมีดังต่อไปนี้ 

1. วิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1929 

ถือเป็นปฐมบทแห่งหายนะทางธุรกิจยุคบุกเบิกเลยทีเดียวสำหรับวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริการยุคปี ค.ศ. 1929 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Great Depression ที่หากกล่าวไปคงไม่มีใครเชื่ออย่างแน่นอนว่าจะมีภาพคนอเมริกันนับแสนเข้าคิวรอรับอาหารและของแจกฟรีจากหน่วยงานการกุศล ซึ่งวิกฤติทางการเงินในครั้งนั้นเกิดจากความตื่นตูมจนเกินเหตุของเหล่าบรรดาอเมริกันชนที่มีต่อตลาดหุ้นวอล สตรีท และพากันไปกู้เงินมาลงทุนในตลาดหุ้นจนหมดตัวเพื่อหวังรวยทางลัด จึงเป็นที่มาของการเกิดภาวะเก็งกำไรขึ้น ส่งผลให้ หุ้นของหลายๆบริษัทมีราคาทะยานขึ้นสูงเกินกว่าความเป็นจริงหลายเท่าตัว ทั้งที่เศรษฐกิจของอเมริกาช่วงนั้นกำลังถดถอย ทำให้เมื่อถึงเดือนกันยายนก็เริ่มมีข่าวลือว่าหลายๆบริษัทมีอาการขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง และวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1929 ตลาดหุ้นวอล สตรีท ก็เกิดความผันผวนอย่างหนัก หุ้นตกแบบทิ้งดิ่งจนถึงขีดสุด มีการระดมเทขายอย่างหนัก จนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง หุ้นที่ประชาชนถืออยู่ในมือจึงกลายเป็นแค่กระดาษแผ่นหนึ่งไปในพริบตา ไม่เว้นแม้กระทั่งธนาคารก็พากันล้มละลายไปหลายสิบแห่งเพราะประชาชนไม่สามารถคืนเงินกู้ได้ วิกฤติการเงินในครั้งนี้จึงสอนให้เรารู้ว่าการลงทุนโดยขาดการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านคือหายนะอย่างแท้จริงไม่ต่างอะไรจากแมงเม่าบินเข้ากองไฟเลยแม้แต่น้อย 

2. วิกฤติน้ำมันในยุค ค.ศ.1970 
3. ฟองสบู่แตกในสินทรัพย์ของญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1986-1990 

ต้องเข้าใจว่าชาวญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีระเบียบวินัยในการออมเงินที่สูงมากมานับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินมีเงินเป็นจำนวนมากอยู่ในระบบ ทำให้พวกเขาคิดจะขยายการเติบโตทางธุรกิจด้วยการส่งเสริมการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากการปล่อยกู้ให้เอกชนและประชาชนได้นำเงินออกมาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งขณะนั้นดัชนีหุ้นนิเคอิพุ่งสูงติดกระดานตลาดหลักทรัพย์เลยทีเดียวแต่แล้วความจริงก็ปรากฎขึ้นเมื่อตลาดของญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยประชาชนมีเงินอยู่ในมือก็จริงแต่เมื่อพวกเขาไม่อยากจะเอาออกมาใช้รัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ ถึงแม้จะพยายามลดดอกเบี้ยเงินฝากขนาดไหนเงินก็ยังไม่ออกมาจากระบบ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจึงเริ่มซบเซาตลาดหุ้นตกเงินทุนในภาคธุรกิจหายไปกว่าครึ่ง ซึ่งในเมื่อไม่มีอุปสงค์ในตลาดอุปทานก็จึงไม่เกิดเป็นเรื่องธรรมดา แล้วเงินทุนก็เริ่มโยกย้ายออกไปในต่างประเทศ การจ้างงานลดลงคนตกงานเป็นจำนวนมาก รัฐบาลญี่ปุ่นแก้ปัญหาแบบเลี้ยงไข้จึงทำให้ใช้ระยะเวลาสะสางปัญหานานถึง 12 ปี กว่าจะดึงอัตราการเติบโตของธุรกิจให้กลับมาอยู่ในแดนบวกได้จากกรณีนี้เองจึงจะเห็นได้ว่าการกระตุ้นการลงทุนนั้นจะต้องทำไปพร้อมๆกันการสร้างพฤติกรรมการบริโภคอย่างต่อเนื่องด้วย 

4. วิกฤติทางการเงินที่ประเทศสวีเดน ค.ศ. 1990-1994 

หลายคนค่อนข้างแปลกใจที่วิกฤติทางการเงินครั้งนี้มาเกิดขึ้นที่ประเทศสวีเดนดินแดนที่ถือเป็นรัฐสวัสดิการต้นแบบและธรรมาภิบาลดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ซึ่ง ณ จุดเด่นตรงนี้เองได้กลายสภาพมาเป็นหนี้สาธารณะที่สูงมากนานหลายสิบปี จนเมื่อประมาณปลายปี ค.ศ.1980 สวีเดนได้เริ่มคลายความเข้มงวดที่มีต่อสถาบันทางการเงินหลังจากคงอยู่มานานถึง 50 ปี ผลก็คือสถาบันทางการเงินปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจและประชาชนอย่างคะนองมือเนื่องจากไม่สามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงได้ สินทรัพย์ต่างๆในช่วงนั้นราคาทะยานขึ้นสูงอย่างประวัติการณ์จนก่อให้เกิดเป็นการขยายตัวในลักษณะของฟองสบู่ แล้วในที่สุดฟองสบู่ที่ว่านั่นก็แตก สินทรัพย์ต่างๆลดมูลค่าลงกลับกลายเป็นของด้อยค่าไปในพริบตา เมื่อการเก็งกำไรไม่ได้ผลนักธุรกิจและประชาชนก็ต่างไม่มีเงินใช้หนี้ที่กู้มา ธนาคารก็เริ่มล้มลงเป็นแถบๆ และลุกลามกลายเป็นวิกฤติทางการเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนในที่สุด จึงเห็นได้ว่าการที่ฝ่ายบริหารให้อิสระกับภาคธุรกิจมากเกินไปโดยไม่มีการควบคุมมักจะทำให้การจัดการมวลรวมของระบบธุรกิจขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นภาครัฐจะต้องเข้ามาควบคุมให้ระบบเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องโดยที่ไม่ผูกขาดเกินไปหรือปล่อยจนเกินไป 

5. ฟองสบู่ธุรกิจดอทคอม ปี ค.ศ.1995 – 2000 

อินเตอร์เน็ตและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคือความหวังในอนาคตของมนุษย์ และนักลงทุนเป็นจำนวนมากเชื่อในสิ่งที่ว่านั้น จึงแห่แหนกันไปลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องในส่วนเทคโนโลยีเป็นจำนวนมากเพราะมันเป็นอนาคตของการทำธุรกิจในขณะนั้น แต่แล้ววันเผด็จศึกก็มาถึงเมื่อความนิยมของอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีไม่ได้สูงเหมือนดั่งเป้าที่วางไว้ ความผิดหวังในเทคโนโลยีเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆเพราะความก้าวหน้าในขณะนั้นยังไม่ถึงกับระดับความต้องการที่มนุษย์คาดหวังไว้จะให้มันมี ความถดถอยก็เริ่มเกิดขึ้นในตลาดทุนเมื่อราคาหุ้นเทคโนโลยีเริ่มตกลงถึงขีดที่ว่าไม่เหลืออะไรเลยและกลับกลายเป็นภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่สอนให้เรารู้ว่าการลงทุนแบบเก็งกำไรและแนวทางการทำธุรกิจที่เน้นการเติบโตมากกว่าผลกำไรคือหายนะที่น่ากลัวมากกับการทำธุรกิจโดยตลอดมา 

6. วิกฤติต้มยำกุ้งในประเทศไทย ปี ค.ศ. 1997-1999 
7. วิกฤติการเงินในรัสเซีย ปี ค.ศ. 1998 

วิกฤติทางการเงินในดินแดนถิ่นหมีขาวและวอดก้าอร่อยในครั้งนี้สร้างความเจ็บปวดร้าวให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก โดยเรื่องเริ่มจากรัสเซียในขณะนั้นเพิ่งจะหลุดพ้นจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเดิมและทำการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นทุนนิยมมากขึ้น สินค้าหลักๆในขณะนั้นก็คือพวกเหล็ก น้ำมัน และทองแดงเป็นสินค้าส่งออกหลัก โดยมีเอเชียเป็นลูกค้าอันดับหนึ่ง แต่พอเอเชียประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจของตนเองเข้า การสั่งซื้อสินค้าจากรัสเซียก็น้อยลงในขณะที่ปริมาณการผลิตเท่าเดิม จึงเริ่มเป็นที่มาของราคาสินค้าตกต่ำถึงขีดสุด แต่เนื่องจากรัสเซียต้องการเงินมาพัฒนาโครงสร้างของประเทศจำนวนมหาศาลจึงออกพันธบัตรเงินกู้เป็นจำนวนมากนำออกขายให้นักลงทุนที่สนใจ โดยมี Yield (ผลผลิตสุทธิที่ได้จากกระบวนการผลิต ซึ่งหักการสูญเสียออกทั้งหมด)ถึง 20% ในหนึ่งปีซึ่งหาไม่ได้จากที่ไหน และนักลงทุนขณะนั้นก็มีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของรัสเซียพอสมควรเพราะพวกเขาเห็นว่ามี IMF คอยหนุนหลังอยู่คงไม่น่าจะมีอะไรผิดพลาด นักลงทุนจึงระดมกู้เงินจากทั่วโลกเพื่อมาซื้อพันธบัตรรัสเซียเก็บเอาไว้เพื่อเก็งกำไร แต่แล้วฝันร้ายก็เกิดขึ้นเมื่อรัสเซียสวมบทซามูไรชักดาบเบี้ยวหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งหมดในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1998 แถมยังออกมาตรการห้ามประชาชนถอนเงินสดออกจากธนาคารอีกด้วย เศรษฐกิจจึงพังไปเกือบทั่วโลก อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความละโมบโลภมากของนักลงทุนนั่นเอง จึงเป็นอีกหนึ่งบทเรียนสอนนักลงทุนว่าไม่มีอะไรได้มาฟรีๆเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลตอบแทนที่มากเกินความเป็นจริง แต่ดันจับต้องไม่ได้จริง 

8. วิกฤติเศรษฐกิจในอาร์เจนติน่า ปี ค.ศ. 1999-2002 

วิกฤติทางการเงินของอาร์เจนติน่าเกิดจากความผิดพลาดหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นสังคม วัฒนธรรม นโยบายการเงิน ไปจนถึงการคอร์รัปชัน ที่สั่งสมมาตั้งแต่ยุครัฐบาลทหารจนมาถึงประชาธิปไตยที่มีการกดดันจากต่างประเทศ โดยอาร์เจนติน่ามีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่สูงมาก จนเกิดภาวะการขาดดุลทางการเงินอย่างหนัก แถมมีปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นเดือนละ 200% และเกือบจะ 3000% ในปี 1983 จนมีการเปลี่ยนรัฐบาลและนโยบายทางการเงินใหม่หมดโดยมีการกำหนดค่าเงินบาทแบบตายตัว แต่แทนที่นโยบายดังกล่าวจะช่วย มันกลับทำให้เกิดปัญหาด้านการส่งออกขึ้น เพราะค่าเงินแข็งเกินไปสินค้าส่งออกขายได้ยาก หนี้เก่าเองก็มีเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้เมื่อถึงเวลาที่ต้องชำระหนี้สินกับต่างประเทศก็ไม่มีใช้คืนให้เขา สุดท้าย IMF เลยต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเร่งด่วนในกรณีนี้ทำให้เราเห็นได้ชัดว่าความสามารถของผู้นำและนโยบายทางการเงินของรัฐบาลมีผลต่อการอยู่รอดของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขนาดไหน 

9. วิกฤติเศรษฐกิจในประเทศกรีซ ปี ค.ศ. 2009 

วิกฤติเศรษฐกิจของกรีซปะทุขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2009 ที่ผ่านมานี่เอง โดยสาเหตุหลักๆมีที่มาจากการขาดวินัยทางการเงินของผู้บริหารประเทศในการกำหนดนโยบายและทิศทางในการบริหารเงินคงคลังภายใน ผสมกับภาวะถดถอยทางการเงินของกระแสเศรษฐกิจโลกในขณะนั้นทำให้งบประมาณภาครัฐขาดดุลถึงร้อยละ 14.5 และยังมีหนี้สาธารณะขึ้นสูงถึงร้อยละ 113 ของ GDP ซึ่งยังไม่รวมรายจ่ายต่อปีจำนวนมากอีก นอกจากนี้โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่บิดเบี้ยวมาช้านานยังกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนอีกด้วย ที่ร้ายกว่านั้นคือการที่มันส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังกลุ่มสหภาพยุโรป จนเหล่าบรรดาภาคี EU และ IMF ต้องเข้าให้การช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนเพื่อกอบกู้ประเทศนี้เอาไว้ไม่ให้ล้มละลายจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศกรีซนั้นมีที่มาจากการขาดไร้ซึ่งระเบียบวินัยทางการเงินของผู้บริหารประเทศและการก่อหนี้สาธารณะขึ้นสูงจนเกินไปตามรูปแบบประชานิยมนั่นเอง 

10. วิกฤติซับไพร์มในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 2008 – ปัจจุบัน 

วิกฤติซับไพร์มหรือที่เรียกกันว่า “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” ตามประสาสื่อบ้านเรานั้นเป็นวิกฤติทางการเงินครั้งล่าสุดซึ่งมีที่มาจากสถาบันการเงินของอเมริกันได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปล่อยกู้สินเชื่อจำนวนมหาศาลให้กับบริษัทและประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือน้อยมาก ซึ่งถ้าเป็นในอดีตบริษัทและประชาชนเหล่านี้ไม่มีทางจะขอกู้ผ่านแน่นอน โดยผู้กู้จะต้องยอมจ่ายเงินค่าดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าเพื่อเป็นการทดแทนการได้รับสินเชื่อมาแบบง่ายๆ ซึ่งนั่นคือจุดเริ่มต้นของวิกฤติอย่างแท้จริงเพราะสถาบันทางการเงินที่ปล่อยสินเชื่อเหล่านั้นประเมินลูกค้าเอาไว้สูงกว่าความเป็นจริงมาก ทั้งๆที่ลูกค้าบางคนไม่มีคุณสมบัติในการผ่อนชำระเงินแม้แต่แค่ดอกเบี้ยเลยด้วยซ้ำ และเงินที่กู้ไปส่วนใหญ่ก็มักจะลงไปในระบบอสังหาริมทรัพย์เสียด้วย เพราะมีชาวอเมริกันเป็นจำนวนมากที่ต้องการที่อยู่อาศัยใหม่และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็สามารถสร้างงานสร้างรายได้เป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วยสุดท้ายแล้วผลที่ตามมาก็คือเหล่าบรรดาลูกหนี้เหล่านี้ทั้งที่เป็นบริษัทเอกชนและประชาชนก็เริ่มขาดส่งเงินให้กับทางสถาบันการเงินจนนำไปสู่การขาดสภาพคล่องของธนาคารในที่สุด ธนาคารหลายๆแห่งต้องล้มลงอย่างไม่เป็นท่าและกลายเป็นคลื่นยักษ์พัดถล่มระบบเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก วิกฤติครั้งนี้จึงทำให้เราเห็นได้ว่าการขาดความรอบคอบในการปล่อยสินเชื่อมักจะนำมาสู่หายนะที่โหดร้ายเสมอๆจะเห็นได้ว่า 10 สุดยอดหายนะทางธุรกิจในประวัติศาสตร์โลกตามที่ได้กล่าวมานั้น เราจะเห็นข้อผิดพลาดที่มีความคล้ายคลึงกันมากอยู่ประการหนึ่งคือ การเก็งกำไรในลักษณะที่คำนึงแต่กำไรที่จะได้มากกว่าความเสี่ยงที่จะขาดทุน นักลงทุนจึงควรปรับมุมมองในการทำธุรกิจเสียใหม่โดยหันมามุ่งเน้นที่วิธีการแบบยั่งยืนมากกว่าที่จะมองแค่ผลลัพธ์ที่ฉาบฉวยเท่านั้น เพียงเท่านี้หายนะทางธุรกิจอันดับที่ 11 ก็ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน

แสดงความคิดเห็น

Dear readers, after reading the Content please ask for advice and to provide constructive feedback Please Write Relevant Comment with Polite Language.Your comments inspired me to continue blogging. Your opinion much more valuable to me. Thank you.

ตะลึง!! 10 สุดยอดหายนะ!! ในประวัติศาสตร์

07:36 0 Comments

10 หายนะทางธุรกิจในประวัติศาสตร์โลก 
10 สุดยอดหายนะทางธุรกิจในประวัติศาสตร์โลก 


  
หายนะทางธุรกิจคือฝันร้ายที่ไม่มีใครอยากจะจดจำ แต่ถ้าเรารู้จักเรียนรู้ในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นฝันร้ายก็มักจะกลับกลายเป็นดีเสมอ ให้ทุกก้าวย่างที่ผิดพลาดเป็นเครื่องเตือนใจ เพื่อที่ว่าครั้งต่อไปจะได้ไม่ก้าวผิดอีก 
ในประวัติศาสตร์การทำธุรกิจของโลกนั้นมีหลายครั้งหลายคราวที่ความล้มเหลวของระบบการเงินได้อุบัติขึ้น และได้สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของมวลมนุษยชาติเป็นวงกว้างจนหลายคนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว ซึ่งความล้มเหลวของระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นแทบทั้งหมดล้วนมีที่มาจากน้ำมือมนุษย์แทบทั้งสิ้น จึงอยากจะขอย้อนรำลึกถึงความล้มเหลวของระบบธุรกิจโลกที่ผ่านมา เพื่อเรียนรู้ถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นมาเป็นบทเรียนในการพัฒนาธุรกิจในวันนี้ โดย 10 สุดยอดหายนะทางธุรกิจในประวัติศาสตร์โลกมีดังต่อไปนี้ 

1. วิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1929 

ถือเป็นปฐมบทแห่งหายนะทางธุรกิจยุคบุกเบิกเลยทีเดียวสำหรับวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริการยุคปี ค.ศ. 1929 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Great Depression ที่หากกล่าวไปคงไม่มีใครเชื่ออย่างแน่นอนว่าจะมีภาพคนอเมริกันนับแสนเข้าคิวรอรับอาหารและของแจกฟรีจากหน่วยงานการกุศล ซึ่งวิกฤติทางการเงินในครั้งนั้นเกิดจากความตื่นตูมจนเกินเหตุของเหล่าบรรดาอเมริกันชนที่มีต่อตลาดหุ้นวอล สตรีท และพากันไปกู้เงินมาลงทุนในตลาดหุ้นจนหมดตัวเพื่อหวังรวยทางลัด จึงเป็นที่มาของการเกิดภาวะเก็งกำไรขึ้น ส่งผลให้ หุ้นของหลายๆบริษัทมีราคาทะยานขึ้นสูงเกินกว่าความเป็นจริงหลายเท่าตัว ทั้งที่เศรษฐกิจของอเมริกาช่วงนั้นกำลังถดถอย ทำให้เมื่อถึงเดือนกันยายนก็เริ่มมีข่าวลือว่าหลายๆบริษัทมีอาการขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง และวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1929 ตลาดหุ้นวอล สตรีท ก็เกิดความผันผวนอย่างหนัก หุ้นตกแบบทิ้งดิ่งจนถึงขีดสุด มีการระดมเทขายอย่างหนัก จนเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง หุ้นที่ประชาชนถืออยู่ในมือจึงกลายเป็นแค่กระดาษแผ่นหนึ่งไปในพริบตา ไม่เว้นแม้กระทั่งธนาคารก็พากันล้มละลายไปหลายสิบแห่งเพราะประชาชนไม่สามารถคืนเงินกู้ได้ วิกฤติการเงินในครั้งนี้จึงสอนให้เรารู้ว่าการลงทุนโดยขาดการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านคือหายนะอย่างแท้จริงไม่ต่างอะไรจากแมงเม่าบินเข้ากองไฟเลยแม้แต่น้อย 

2. วิกฤติน้ำมันในยุค ค.ศ.1970 
3. ฟองสบู่แตกในสินทรัพย์ของญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1986-1990 

ต้องเข้าใจว่าชาวญี่ปุ่นเป็นชนชาติที่มีระเบียบวินัยในการออมเงินที่สูงมากมานับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินมีเงินเป็นจำนวนมากอยู่ในระบบ ทำให้พวกเขาคิดจะขยายการเติบโตทางธุรกิจด้วยการส่งเสริมการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากการปล่อยกู้ให้เอกชนและประชาชนได้นำเงินออกมาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งขณะนั้นดัชนีหุ้นนิเคอิพุ่งสูงติดกระดานตลาดหลักทรัพย์เลยทีเดียวแต่แล้วความจริงก็ปรากฎขึ้นเมื่อตลาดของญี่ปุ่นเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยประชาชนมีเงินอยู่ในมือก็จริงแต่เมื่อพวกเขาไม่อยากจะเอาออกมาใช้รัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ ถึงแม้จะพยายามลดดอกเบี้ยเงินฝากขนาดไหนเงินก็ยังไม่ออกมาจากระบบ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจึงเริ่มซบเซาตลาดหุ้นตกเงินทุนในภาคธุรกิจหายไปกว่าครึ่ง ซึ่งในเมื่อไม่มีอุปสงค์ในตลาดอุปทานก็จึงไม่เกิดเป็นเรื่องธรรมดา แล้วเงินทุนก็เริ่มโยกย้ายออกไปในต่างประเทศ การจ้างงานลดลงคนตกงานเป็นจำนวนมาก รัฐบาลญี่ปุ่นแก้ปัญหาแบบเลี้ยงไข้จึงทำให้ใช้ระยะเวลาสะสางปัญหานานถึง 12 ปี กว่าจะดึงอัตราการเติบโตของธุรกิจให้กลับมาอยู่ในแดนบวกได้จากกรณีนี้เองจึงจะเห็นได้ว่าการกระตุ้นการลงทุนนั้นจะต้องทำไปพร้อมๆกันการสร้างพฤติกรรมการบริโภคอย่างต่อเนื่องด้วย 

4. วิกฤติทางการเงินที่ประเทศสวีเดน ค.ศ. 1990-1994 

หลายคนค่อนข้างแปลกใจที่วิกฤติทางการเงินครั้งนี้มาเกิดขึ้นที่ประเทศสวีเดนดินแดนที่ถือเป็นรัฐสวัสดิการต้นแบบและธรรมาภิบาลดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง ซึ่ง ณ จุดเด่นตรงนี้เองได้กลายสภาพมาเป็นหนี้สาธารณะที่สูงมากนานหลายสิบปี จนเมื่อประมาณปลายปี ค.ศ.1980 สวีเดนได้เริ่มคลายความเข้มงวดที่มีต่อสถาบันทางการเงินหลังจากคงอยู่มานานถึง 50 ปี ผลก็คือสถาบันทางการเงินปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจและประชาชนอย่างคะนองมือเนื่องจากไม่สามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงได้ สินทรัพย์ต่างๆในช่วงนั้นราคาทะยานขึ้นสูงอย่างประวัติการณ์จนก่อให้เกิดเป็นการขยายตัวในลักษณะของฟองสบู่ แล้วในที่สุดฟองสบู่ที่ว่านั่นก็แตก สินทรัพย์ต่างๆลดมูลค่าลงกลับกลายเป็นของด้อยค่าไปในพริบตา เมื่อการเก็งกำไรไม่ได้ผลนักธุรกิจและประชาชนก็ต่างไม่มีเงินใช้หนี้ที่กู้มา ธนาคารก็เริ่มล้มลงเป็นแถบๆ และลุกลามกลายเป็นวิกฤติทางการเงินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนในที่สุด จึงเห็นได้ว่าการที่ฝ่ายบริหารให้อิสระกับภาคธุรกิจมากเกินไปโดยไม่มีการควบคุมมักจะทำให้การจัดการมวลรวมของระบบธุรกิจขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นภาครัฐจะต้องเข้ามาควบคุมให้ระบบเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องโดยที่ไม่ผูกขาดเกินไปหรือปล่อยจนเกินไป 

5. ฟองสบู่ธุรกิจดอทคอม ปี ค.ศ.1995 – 2000 

อินเตอร์เน็ตและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคือความหวังในอนาคตของมนุษย์ และนักลงทุนเป็นจำนวนมากเชื่อในสิ่งที่ว่านั้น จึงแห่แหนกันไปลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องในส่วนเทคโนโลยีเป็นจำนวนมากเพราะมันเป็นอนาคตของการทำธุรกิจในขณะนั้น แต่แล้ววันเผด็จศึกก็มาถึงเมื่อความนิยมของอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีไม่ได้สูงเหมือนดั่งเป้าที่วางไว้ ความผิดหวังในเทคโนโลยีเริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆเพราะความก้าวหน้าในขณะนั้นยังไม่ถึงกับระดับความต้องการที่มนุษย์คาดหวังไว้จะให้มันมี ความถดถอยก็เริ่มเกิดขึ้นในตลาดทุนเมื่อราคาหุ้นเทคโนโลยีเริ่มตกลงถึงขีดที่ว่าไม่เหลืออะไรเลยและกลับกลายเป็นภาวะฟองสบู่แตกในที่สุด ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่สอนให้เรารู้ว่าการลงทุนแบบเก็งกำไรและแนวทางการทำธุรกิจที่เน้นการเติบโตมากกว่าผลกำไรคือหายนะที่น่ากลัวมากกับการทำธุรกิจโดยตลอดมา 

6. วิกฤติต้มยำกุ้งในประเทศไทย ปี ค.ศ. 1997-1999 
7. วิกฤติการเงินในรัสเซีย ปี ค.ศ. 1998 

วิกฤติทางการเงินในดินแดนถิ่นหมีขาวและวอดก้าอร่อยในครั้งนี้สร้างความเจ็บปวดร้าวให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก โดยเรื่องเริ่มจากรัสเซียในขณะนั้นเพิ่งจะหลุดพ้นจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเดิมและทำการปฏิรูประบบเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นทุนนิยมมากขึ้น สินค้าหลักๆในขณะนั้นก็คือพวกเหล็ก น้ำมัน และทองแดงเป็นสินค้าส่งออกหลัก โดยมีเอเชียเป็นลูกค้าอันดับหนึ่ง แต่พอเอเชียประสบกับวิกฤติทางเศรษฐกิจของตนเองเข้า การสั่งซื้อสินค้าจากรัสเซียก็น้อยลงในขณะที่ปริมาณการผลิตเท่าเดิม จึงเริ่มเป็นที่มาของราคาสินค้าตกต่ำถึงขีดสุด แต่เนื่องจากรัสเซียต้องการเงินมาพัฒนาโครงสร้างของประเทศจำนวนมหาศาลจึงออกพันธบัตรเงินกู้เป็นจำนวนมากนำออกขายให้นักลงทุนที่สนใจ โดยมี Yield (ผลผลิตสุทธิที่ได้จากกระบวนการผลิต ซึ่งหักการสูญเสียออกทั้งหมด)ถึง 20% ในหนึ่งปีซึ่งหาไม่ได้จากที่ไหน และนักลงทุนขณะนั้นก็มีความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของรัสเซียพอสมควรเพราะพวกเขาเห็นว่ามี IMF คอยหนุนหลังอยู่คงไม่น่าจะมีอะไรผิดพลาด นักลงทุนจึงระดมกู้เงินจากทั่วโลกเพื่อมาซื้อพันธบัตรรัสเซียเก็บเอาไว้เพื่อเก็งกำไร แต่แล้วฝันร้ายก็เกิดขึ้นเมื่อรัสเซียสวมบทซามูไรชักดาบเบี้ยวหนี้ที่ต้องจ่ายทั้งหมดในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1998 แถมยังออกมาตรการห้ามประชาชนถอนเงินสดออกจากธนาคารอีกด้วย เศรษฐกิจจึงพังไปเกือบทั่วโลก อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความละโมบโลภมากของนักลงทุนนั่นเอง จึงเป็นอีกหนึ่งบทเรียนสอนนักลงทุนว่าไม่มีอะไรได้มาฟรีๆเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลตอบแทนที่มากเกินความเป็นจริง แต่ดันจับต้องไม่ได้จริง 

8. วิกฤติเศรษฐกิจในอาร์เจนติน่า ปี ค.ศ. 1999-2002 

วิกฤติทางการเงินของอาร์เจนติน่าเกิดจากความผิดพลาดหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นสังคม วัฒนธรรม นโยบายการเงิน ไปจนถึงการคอร์รัปชัน ที่สั่งสมมาตั้งแต่ยุครัฐบาลทหารจนมาถึงประชาธิปไตยที่มีการกดดันจากต่างประเทศ โดยอาร์เจนติน่ามีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่สูงมาก จนเกิดภาวะการขาดดุลทางการเงินอย่างหนัก แถมมีปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นเดือนละ 200% และเกือบจะ 3000% ในปี 1983 จนมีการเปลี่ยนรัฐบาลและนโยบายทางการเงินใหม่หมดโดยมีการกำหนดค่าเงินบาทแบบตายตัว แต่แทนที่นโยบายดังกล่าวจะช่วย มันกลับทำให้เกิดปัญหาด้านการส่งออกขึ้น เพราะค่าเงินแข็งเกินไปสินค้าส่งออกขายได้ยาก หนี้เก่าเองก็มีเป็นจำนวนมหาศาล ทำให้เมื่อถึงเวลาที่ต้องชำระหนี้สินกับต่างประเทศก็ไม่มีใช้คืนให้เขา สุดท้าย IMF เลยต้องเข้ามาให้ความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเร่งด่วนในกรณีนี้ทำให้เราเห็นได้ชัดว่าความสามารถของผู้นำและนโยบายทางการเงินของรัฐบาลมีผลต่อการอยู่รอดของระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศขนาดไหน 

9. วิกฤติเศรษฐกิจในประเทศกรีซ ปี ค.ศ. 2009 

วิกฤติเศรษฐกิจของกรีซปะทุขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2009 ที่ผ่านมานี่เอง โดยสาเหตุหลักๆมีที่มาจากการขาดวินัยทางการเงินของผู้บริหารประเทศในการกำหนดนโยบายและทิศทางในการบริหารเงินคงคลังภายใน ผสมกับภาวะถดถอยทางการเงินของกระแสเศรษฐกิจโลกในขณะนั้นทำให้งบประมาณภาครัฐขาดดุลถึงร้อยละ 14.5 และยังมีหนี้สาธารณะขึ้นสูงถึงร้อยละ 113 ของ GDP ซึ่งยังไม่รวมรายจ่ายต่อปีจำนวนมากอีก นอกจากนี้โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่บิดเบี้ยวมาช้านานยังกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนอีกด้วย ที่ร้ายกว่านั้นคือการที่มันส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังกลุ่มสหภาพยุโรป จนเหล่าบรรดาภาคี EU และ IMF ต้องเข้าให้การช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนเพื่อกอบกู้ประเทศนี้เอาไว้ไม่ให้ล้มละลายจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับประเทศกรีซนั้นมีที่มาจากการขาดไร้ซึ่งระเบียบวินัยทางการเงินของผู้บริหารประเทศและการก่อหนี้สาธารณะขึ้นสูงจนเกินไปตามรูปแบบประชานิยมนั่นเอง 

10. วิกฤติซับไพร์มในสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 2008 – ปัจจุบัน 

วิกฤติซับไพร์มหรือที่เรียกกันว่า “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์” ตามประสาสื่อบ้านเรานั้นเป็นวิกฤติทางการเงินครั้งล่าสุดซึ่งมีที่มาจากสถาบันการเงินของอเมริกันได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการปล่อยกู้สินเชื่อจำนวนมหาศาลให้กับบริษัทและประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือน้อยมาก ซึ่งถ้าเป็นในอดีตบริษัทและประชาชนเหล่านี้ไม่มีทางจะขอกู้ผ่านแน่นอน โดยผู้กู้จะต้องยอมจ่ายเงินค่าดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าเพื่อเป็นการทดแทนการได้รับสินเชื่อมาแบบง่ายๆ ซึ่งนั่นคือจุดเริ่มต้นของวิกฤติอย่างแท้จริงเพราะสถาบันทางการเงินที่ปล่อยสินเชื่อเหล่านั้นประเมินลูกค้าเอาไว้สูงกว่าความเป็นจริงมาก ทั้งๆที่ลูกค้าบางคนไม่มีคุณสมบัติในการผ่อนชำระเงินแม้แต่แค่ดอกเบี้ยเลยด้วยซ้ำ และเงินที่กู้ไปส่วนใหญ่ก็มักจะลงไปในระบบอสังหาริมทรัพย์เสียด้วย เพราะมีชาวอเมริกันเป็นจำนวนมากที่ต้องการที่อยู่อาศัยใหม่และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็สามารถสร้างงานสร้างรายได้เป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วยสุดท้ายแล้วผลที่ตามมาก็คือเหล่าบรรดาลูกหนี้เหล่านี้ทั้งที่เป็นบริษัทเอกชนและประชาชนก็เริ่มขาดส่งเงินให้กับทางสถาบันการเงินจนนำไปสู่การขาดสภาพคล่องของธนาคารในที่สุด ธนาคารหลายๆแห่งต้องล้มลงอย่างไม่เป็นท่าและกลายเป็นคลื่นยักษ์พัดถล่มระบบเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก วิกฤติครั้งนี้จึงทำให้เราเห็นได้ว่าการขาดความรอบคอบในการปล่อยสินเชื่อมักจะนำมาสู่หายนะที่โหดร้ายเสมอๆจะเห็นได้ว่า 10 สุดยอดหายนะทางธุรกิจในประวัติศาสตร์โลกตามที่ได้กล่าวมานั้น เราจะเห็นข้อผิดพลาดที่มีความคล้ายคลึงกันมากอยู่ประการหนึ่งคือ การเก็งกำไรในลักษณะที่คำนึงแต่กำไรที่จะได้มากกว่าความเสี่ยงที่จะขาดทุน นักลงทุนจึงควรปรับมุมมองในการทำธุรกิจเสียใหม่โดยหันมามุ่งเน้นที่วิธีการแบบยั่งยืนมากกว่าที่จะมองแค่ผลลัพธ์ที่ฉาบฉวยเท่านั้น เพียงเท่านี้หายนะทางธุรกิจอันดับที่ 11 ก็ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน

0 ความคิดเห็น: